FAQ การดูแลรถ

วิศวกรมีการกำหนดค่าความหนืดที่เหมาะสมสำหรับน้ำมันหล่อลื่นไว้โดยพิจารณาจากโหลดการทำงานและความเร็วรถน้ำมันหล่อลื่นที่เนื้อบางหรือหนืดน้อยกว่ามักมีความต้านทานต่ำทำให้ช่วยประหยัดเชื้อเพลิงและให้กำลังเครื่องยนต์ได้สูงในขณะที่น้ำมันหล่อลื่นที่มีความหนืดสูงจะทนต่อการบีบอัดที่จุดสัมผัสระหว่างพื้นผิวโลหะได้ดี
ปัจจัยผันแปรที่ควบคุมได้ยากคือความหนืดของน้ำมันหล่อลื่นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิคือน้ำมันหล่อลื่นจะใสขึ้นหรือบางลงเมื่ออุณหภูมิสูงและจะข้นหรือหนาขึ้นเมื่ออุณหภูมิต่ำลง ที่ช่วงอุณหภูมิต่ำน้ำมันหล่อลื่นจะต้องสามารถไหลได้ดี (ไม่ข้นหรือหนืดเกินไป) ที่ช่วงอุณหภูมิสูงน้ำมันหล่อลื่นก็จะต้องสามารถรักษาความหนืดไว้ได้เพื่อป้องกันการเสียดสีกันของชิ้นส่วนโลหะ เพื่อแก้ไขปัญหานี้วิศวกรจึงได้พัฒนาน้ำมันหล่อลื่นมัลติเกรดหรือเกรดรวมขึ้น
ความหนืดคือเกณฑ์การวัดความต้านทานการไหลของสารเหลว สารเหลวความหนืดต่ำจะไหลได้ง่ายลักษณะเฉพาะคือ “ความบาง” ของเนื้อสัมผัส น้ำเป็นตัวอย่างของสารเหลวที่มีความหนืดค่อนข้างต่ำ สารเหลวที่มีความหนืดสูงมีลักษณะเฉพาะคือ “ความหนา” ของเนื้อสัมผัสน้ำเชื่อมเป็นตัวอย่างของสารเหลวที่มีความหนืดค่อนข้างสูง
น้ำมันหล่อลื่นปัจจุบันมีการแยกประเภทโดยใช้รหัสตัวอักษรสองตัว น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์เบนซินจะเริ่มด้วยตัว S (“Spark Ignition” เดิมปัจจุบัน S ใช้แทน “Service”) น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ดีเซลจะเริ่มด้วยตัว C (“Compression Ignition” เดิมปัจจุบัน C ใช้แทน “Commercial”)
อักขระตัวที่สองจะเป็นการเรียงลำดับตามระดับคุณภาพน้ำมันหล่อลื่นที่มีการปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆกล่าวคือเมื่อมีการกำหนดระดับคุณภาพใหม่ในกลุ่มอุตสาหกรรมอักขระถัดไปจะถูกเลือกใช้แทนที่ (SJ จะแทนที่ SH) ตัว “I” และ “K” ถูกข้ามไปเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนกับอักษรย่ออื่นๆที่ใช้กันทั่วไป
ค่าดัชนีความหนืด (VI) เป็นค่าวัดการเปลี่ยนแปลงความหนืดน้ำมันหล่อลื่นเชิงสัมพัทธ์ในช่วงอุณหภูมิที่กำหนด ค่าดัชนีความหนืดที่สูงกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงความหนืดที่น้อยกว่าในช่วงอุณหภูมิหนึ่งๆ ค่า VI ไม่ได้เชื่อมโยงกับความหนืดจริงหรือค่าความหนืดตามมาตรฐาน SAE แต่ใช้เพื่อวัดอัตราการผันแปรของความหนืด
ค่า VI มักใช้เพื่อเป็นเกณฑ์อ้างอิงเบื้องต้นเท่านั้น ประสิทธิภาพในการทำงานจริงจะพิจารณาจากผลการทดสอบจากความสามารถในการอัดจ่ายที่อุณหภูมิต่ำรวมทั้งการทดสอบการสึกหรอที่ช่วงอุณหภูมิสูงของน้ำมันหล่อลื่น ผลการทดสอบเหล่านี้สามารถบ่งชี้ประสิทธิภาพในการทำงานจริงกับเครื่องยนต์ได้ดีกว่า
โดยทั่วไปน้ำมันหล่อลื่นมัลติเกรด (0W-40, 10W-30 ฯลฯ) จะมีค่าดัชนีความหนืดที่สูง น้ำมันหล่อลื่นโมโนเกรด (SAE 30, 40 ฯลฯ) มักมีค่าดัชนีความหนืดที่ต่ำกว่า


  • Changing motorbike oil

    เคล็ดลับน่ารู้ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเมื่อไหร่ดี

    สัญญาณต่างๆ จากเครื่องยนต์ ที่บอกเราว่าได้เวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง

  • Kilometer count

    กำหนดเปลี่ยนน้ำมันเครื่องรถมอเตอร์ไซค์ ดูแค่เลขไมล์อย่างเดียวจริงหรือ

    ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า เราควรพิจารณาปัจจัยอื่นๆ เช่น อายุของเครื่องยนต์ และระยะเวลาในการขับขี่ร่วมกับเลขไมล์ ก่อนจะตัดสินใจเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องรถมอเตอร์ไซค์ของคุณ

  • Changing motorbike oil

    3 ข้อควรรู้ในการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องรถมอเตอร์ไซค์

    ศึกษาเคล็ดลับสำคัญในการปกป้องเครื่องยนต์รถมอเตอร์ไซค์ได้ยาวนานขึ้น